ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร)
ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

โรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร) สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอชนแดน สำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
เดิมโรงเรียนนี้อยู่ในบริเวณที่ดินของวัดศิริรัตน์ ก่อสร้างด้วยเงินบำรุงการศึกษา ราคาไม่ปรากฏในหลักฐานการก่อสร้าง
ต่อมาชำรุดทรุดโทรมจึงได้รับเงินงบประมาณในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน)
มาทำการก่อสร้างใหม่ โดยมีนายเที่ยง สุขาวดี ศึกษาธิการกิ่งอำเภอชนแดนกับ ร.ต. ชั้น งามสง่า
ปลัดกิ่งอำเภอชนแดนพร้อมด้วยประชาชน ได้รื้อถอนอาคารหลังเก่า มาปลูกสร้างใหม่ในเนื้อที่ของโรงเรียนเอง
คือ ที่ดินแปลงปัจจุบัน กว้าง 5 เส้น ยาว 6 เส้น มีเนื้อที่ 30 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดที่ดินนายชิน แพพิชัย
ทิศใต้ จดที่ดิน ถนนชมฐีระเวช (ถนนตะพานหิน-เพชรบูรณ์) กว้าง 5 เส้น
ทิศตะวันออก จดที่ดินนางจ่าน วังหมอ ยาว 5 เส้น
ทิศตะวันตก จดที่ดินนายรอด รัตนพันธ์ ยาว 6 เส้น
ที่ดินได้จัดทำเป็นนิติกรรมเป็น น.ส. 3 มีริ้วเสาไม้แก่นตลอดระยะตามเขต อาคารเรียน
สร้างเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2495
แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2495 เป็นอาคารไม้ เสาไม้จริง พื้นกระดาน หลังคามุงสังกะสี
ี มี 3 ห้องเรียน
นางบุญกอง ศิริวิทย์ ได้บริจาคไม้ฝา 12 ยกเป็นเงิน 2,000 บาท (สองพันบาทถ้วน) และประชาชนบริจาคสมบทอีก คือ
1.กฐินสามัคคีสร้างอาคารเรียน 3.422 บาท
2.คุณนายบุญกอง ศิริวิทย์ 1,000 บาท
3.นายบุญช่วย ดวงเสาร์ 100 บาท
4.นายสายยันต์ สุ่มแช่ม 100 บาท
5.นายสุพจน์ อานพรหม 100 บาท
6.นายแถบ ชีรอด 80 บาท
7.ราษฎรท่าข้าม 8,200 บาท
วันที่ 1 เมษายน 2496 นายคุ้ย สว่างจันทร์ ครูใหญ่ร่วมกับคณะครูและประชาชน
สร้างบ้านพักครู 1 หลัง ไม่ทราบราคา
วันที่ 20 ตุลาคม 2501 อาคารได้ชำรุดทรุดโทรม ได้สร้างอาคารหลังใหม
่ โดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
ประชาชนสมทบอีก 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)รวมเป็นเงิน 100,000 บาท
(หนึ่งแสนบาทถ้วน) ขนาด 6 ห้องเรียน มีมุข กว้าง 8 เมตร ยาว 48 เมตร
เปิดทำการเรียนเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2502
พ.ศ.2511 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง
แบบ ป.1 ฉจำนวน 4 ห้องเรียนเปิดใช้เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2512
งบประมาณ 160,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) และยังได้รับงบประมาณในการก่อสร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง
ราคา 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)พ.ศ.2512 นายปัญจะ เกสรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ บริจาคเงิน 1,000 บาท
คณะครูประชาชนบริจาคเงิน 4,500 บาท สร้างส้วมซึม 9 ที่นั่ง
โดยการนำของครูใหญ่ นายเพชร สุขศิริ พ.ศ.2513 คณะกรรมการศึกษาครู และประชาชนร่วมกันสร้างหอประชุม 1 หลัง ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20.9 เมตร
สิ้นเงินทั้งสิ้น 66,923.50 บาท (หกหมื่นหกพันเก้าร้อยยี่สิบสามบาทห้าสิบสตางค์) โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการพ.ศ.2514 กองสลากกินแบ่งรัฐบาลไทย บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนแบบ 015 เป็นเงิน 240,000 บาท
(สองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) นายประสิทธิ์ บุรพรัตน์ ร่วมกับคณะกรรมการศึกษา
คณะครู และประชาชนหาเงินสมทบอีก 360,000 บาท (สามแสนหาหมื่นบาทถ้วน)
สร้างอาคารเรียน 12 ห้องเรียน 2 ชั้น พร้อมอุปกรณ์ เปิดใช้เรียนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2515 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2515 พ.ศ.2515 ในปีนี้ไม่มีงบประมาณ
พ.ศ.2516 โดยการนำของนายประสิทธิ์ บุรพรัตน์ คณะกรรมการศึกษา
ได้จัดทำรั้วโรงเรียนขึ้น 3 ด้าน รั้วลวดหนามเสาไม้แก่น คือทางทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก คิดเป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ในปีนี้ทางราชการได้ให้งบประมาณในการก่อสร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง ราคา 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2516
พ.ศ.2517-2518 ไม่มีงบประมาณในการก่อสร้าง
พ.ศ.2519 คณะกรรมการ พ.ป.ช. ได้อนุมัติเงินให้สร้างถนนเข้าโรงเรียนทางทิศตะวันตกในวงเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
สร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กแบบถาวร ยาว 200 เมตร โดยใช้งบประมาณ พ.ป.ช.
(สุขาภิบาลตำบลท่าข้าม) ในวงเงิน 167,400 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยบาทถ้วน) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2519
ในปีเดียวกันทางราชการได้สร้างบ้านพักครู 2 หลังๆ ละ 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) แบบมีห้องน้ำสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2519
โรงเรียนบ้านดงแขวนได้บ้านพักครู 1 หลัง ราคา 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) มีความประสงค์จะสร้างในที่ดินของโรงเรียนบ้านท่าข้าม ขออนุมัติการสร้างจากอำเภอ อำเภออนุมัติให้สร้างในที่ดินของโรงเรียนบ้านท่าข้ามได้และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2519
ได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ 5 ที่นั่ง พร้อมที่ปัสสาวะราคา 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ.2521 ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูเพิ่มอีก 2 หลัง ราคาหลังละ 57,750 บาท (ห้าหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยสิบบาทถ้วน)
พ.ศ.2521 สุขาภิบาลตำบลท่าข้ามได้งบประมาณในการก่อสร้างสนามบาสเกตบอล คอนกรีตเสริมเหล็กแบบมาตรฐาน แป้นใช้เสาแป็บ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว กรรมการศึกษา คณะครูหาสมทบอีก 40,000 บาท รวมค่าก่อสร้างสนามบาสเกตบอล
ทั้งสิ้น 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน)
ในปีนี้กระทรวงได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ ให้ใช้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และให้เริ่มให้หลักสูตรนี้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อน
วันที่ 18 ตุลาคม 2521 กระทรวงได้มอบโล่ชั้นเครื่องหมายเงินให้คณะกรรมการศึกษาโรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร)
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2521 สภาตำบลท่าข้ามได้ให้งบประมาณ 23,085 บาท (สองสามพันแปดสิบห้าบาทถ้วน)
ถมถนนดินลูกรัง และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2522 สภาตำบลได้มอบแท้งค์ให้จำนวน 5 ใบ
พ.ศ.2522 ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง ราคา 57,750 บาท (ห้าหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2522 คณะกรรมการโรงเรียนไดจัดซื้อเครื่องขยายเสียงพร้อมอุปกรณ์เทป
เป็นเงิน 17,800 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน) นายประภัสสร์ มัณธุสินธ์เป็นผู้รับมอบ
พ.ศ.2529 ไม่ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง ในปีนี้ทางโรงเรียนได้เปิดรับเด็กอนุบาลถึ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ.2530 ทางราชการได้ให้งบในการก่อสร้างบ้านพักภารโรง 1 หลัง แบบองค์การ (304)
สร้างเสร็จ
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2530
พ.ศ.2531 ทางราชการได้ให้งบประมาณในการก่อสร้างบ้านพักครูเรือนแถว 2 ชั้น 6 หน่วย แบบ สปช. 303/2526 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2531 พิจารณาให้ครูภายในกลุ่มพักอาศัยได้แก่นางสมหมาย ตรียัน
นางทัศนีย์ สิงห์อุดร นายไพบูลย์-นางพรรณี คุ้มเถื่อน นายปัญญา กำจาย
นายไพศาล-นางมาลินี ศรีพัญญะ นายณัฐพงษ์ หอมจันทร์
ในปีนี้ทางราชการได้ให้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 205/2526
สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 งบประมาณบ้านพักครู 1,050,000 บาท (หนึ่งล้านห้าหมื่นบาทถ้วน) อาคารอเนกประสงค์ราคา 822,000 บาท (แปดแสนสองหสื่อสองพันบาทถ้วน)
ทางคณะกรรมการศึกษาร่วมกับคณะครูโรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท้าข้ามวิทยาคาร) ได้ก่อสร้างห้องสมุดเป็นเอกเทศขึ้น 1 หลัง
ราคา 57,000 บาท (ห้าหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531
พ.ศ. 2535 ในปีนี้ทางโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
เปิดเรียนตั้งแต่อนุบาล-มัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ.2536 โรงเรียนได้จัดทำสหกรณ์เป็นเอกเทศโดยจัดหางบประมาณเอง 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2536
พ.ศ.2537 ทางราชการได้บรรจุครูตาม จ.18 มีครูทั้งหมด 31 คน มาช่วยราชการ 1 คน
รวมเป็น 32 คน
นักการภารโรง 2 คน นักเรียน 6,000 คนเศษ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบสปช.
105/2529 จำนวน 1 หลังราคา 1,636,016 บาท (หนึ่งล้านหกแสนสามหมื่นหกพันสิบหาบาทถ้วน) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2537
พ.ศ.2538 ไม่ได้รับงบประมาณ แต่ห้องเรียนไม่เพียงพอ คณะครูได้นัดหาเงินต่อเติมอาคารเรียน 105/2529 จำนวน 4 ห้องเรียน สิ้นเงิน 130,000 (หนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ.2539 โรงเรียนจัดทำเรื่องขอเป็นผู้อำนวยการภาคปกติ ได้รับการพิจารณาผ่านการตรวจ
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2539 กค. อนุมัติผลการตัดสินเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม โรงเรียนผ่านการเป็นโรงเรียนผู้อำนวยการ จังหวัดได้พิจารณาผู้บริหารเข้ารับการอบรมที่วัดไร่ขิง
วันที่ 6-31 มกราคม 2540 และเป็นโรงเรียนผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540
ในปีนี้กลุ่มได้จัดทำสำนักงานกลุ่มเอกเทศโดยขอไม้อาคารเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร) สร้างทางด้านทิศตะวันออก สิ้นค่าก่อสร้างและค่าแรงประมาณ 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) สร้างแล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539
พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 105/2529 ขึ้นอีก 1 หลัง
สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2540
ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540 อาคารเรียนแบบ 015 เกิดไฟไหม้อาคารเรียนชั้นบนทางด้านทิศตะวันตก เป็นห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และห้องเก็บพัสดุเวลา 17.30 น. สาเหตุของไฟไหม้เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร สามารถดับไฟป้องกันการลุกลามได้ทัน คิดเป็นค่าเสียหายประมาณ 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2540 ผู้แทนราษฎรเขต 2 นายสันติ พร้อมพัฒน์ นายสุรศักดิ์ อรรฆพันธ์และข้าราชการพร้อมประชาชนมาเยี่ยมโรงเรียน ทางโรงเรียนได้ขออาคารเรียนหลังใหม่เพื่อให้มีห้องเรียนเพียงพอ ส.ส.รับปากจะติดตามเรื่องให้ทาง สปช. มีคำสั่งอนุมัติอาคารเรียน 2 ชั้น 16 ห้องเรียนพร้อมกับอุปกรณ์ และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540
พ.ศ. 2541 ทางคณะกรรมการกลุ่มพิจารณาย้ายกลุ่มจากโรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท้าข้ามวิทยาคาร) ไปไว้ที่โรงเรียนบ้านกุฎิพระ
ทางคณะครู กรรมการโรงเรียนได้พิจารณาอาคารเรียน 015 ให้อนุรักษ์ไว้ โดยหาเงินซ่อม ทางโรงเรียนหาเงินซ่อมทั้งสิ้นเงิน 55,000 (ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณช่วยอีก 67,000 (หกหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)
ย้ายอาคารอเนกประสงค์ (หอประชุมเก่า) ไปเป็นโรงอาหาร สิ้นเงินรื้อย้ายประมาณ 156,900 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นหกพันเก้าร้อยบาทถ้วน)
ย้ายโรงอาหารไปเป็นห้องสมุดเอกเทศสิ้นเงิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2543
นายจดศักดิ์ กันนรา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร)
ได้เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2543
นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยระหงส์ สปอ.หล่มสัก ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร) เมื่อ พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2548 นายจักรภัทร ชิตพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านศาลาลาย อำเภอชนแดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าข้าม (ท่าข้ามวิทยาคาร) จนถึงปัจจุบัน